HTML

HTML

1   HTML ย่อมาจาก  ภาษาหลักที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดยใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผล HTML ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language โดย Hypertext หมายถึง ข้อความที่เชื่อมต่อกันผ่านลิ้ง (Hyperlink) Markup language หมายถึงภาษาที่ใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผลสิ่งต่างๆที่แสดงอยู่บนเว็บเพจ ดังนั้น HTML จึงหมายถึง ภาษาที่ใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผลเว็บเพจที่ต่างก็เชื่อมถึงกันใน Hyperspace ผ่าน Hyperlink นั่นเอง

หมายถึง 

HTML(Hyper Text Markup Language) เป็นภาษาหลักในการทำเว็บไซค์ 
เอกสาร HTML อธิบายเว็บเพจ เอกสาร HTML กำหนด HTML Tags เอกสาร HTML กำหนดลักษณะแบบอักษร 
เราอาจเรียกได้ว่า เอกสาร HTML ก็คือ เว็บเพจนั่นเอง 

HTML ไม่ใช่ภาษาโปรแกรม แต่เป็น markup language 
markup language คือกลุ่มที่อยู่ใน markup tags 
HTML จะใช้ markup tags ในการอธิบายหน้าเว็บเพจ 






2   รูปเเบบการใช้คำสั่ง

1. คำสั่งที่ใช้ในการจัดย่อหน้า
คำสั่ง P นี้จะเพิ่มบรรทัดว่างก่อนและหลังตัวอักษรที่เราพิมพ์ไปโดยอัตโนมัติ ตามที่แสดงในตัวอย่าง

รูปแบบ p tag 


Source Code <p> ย่อหน้าที่ 1 </p> <p> ย่อหน้าที่ 2 </p> <p> ย่อหน้าที่ 3 </p>


2. คำสั่งที่ใช้ในการขึ้นบรรทัดใหม่
การตัดบรรทัดใหม่นั้นปรกติ web browser จะทำการตัดให้อยู่แล้ว แต่การตัดคำของ web browser จะตัดเมื่อแสดงผลไม่ได้ แต่ถ้าเราใส่คำสั้ง <br> เข้าไป web browser จะตัดให้ทันที ซึ่งคุณอาจจำเป็นที่จะต้องตัดคำเป็นบรรทัดสั้นๆเช่น การเขียนกลอนดังตัวอย่าง

รูปแบบ br tag 


Source Code บรรทัดที่ 1 <br> บรรทัดที่ 2 <br> บรรทัดที่ 3 <br>


3. คำสั่งที่ใช้กับข้อความที่เป็นหัวเรื่อง
คำสั่ง h จะมีทั้งหมด 6 ลำดับด้วยกัน ไล่ตั้งแต่ h1, h2, h3 ,h4, h5, h6 ซึ่งขนาดของ h1 จะใหญ่ที่สุดดังตัวอย่างที่แสดง โดยเราจะใช้กับตัวอักษรที่ต้องการให้เป็นหัวเรื่องเพื่อให้อักษรนั้นโดดเด่นขึ้นมา จะสังเกตุได้ว่าเมื่อใช้ h tag จะตัดตัวอักษรที่ต่อจาก h tag เป็นบรรทัดใหม่อัตโนมัติ

รูปแบบ h tag 


Source Code <h1>head 1</h1> <h2>head 2</h2> <h3>head 3</h3> <h4>head 4</h4> <h5>head 5</h5> <h6>head 6</h6>

4. คำสั่งที่ใช้ในการขึดเส้นคั่น
คำสั่งที่ใช้ในการขีดเส้นคั่น
รูปแบบ hr


Source Code <p>เนื้อหาบทที่ 1</p> <hr> <p>เนื้อหาบทที่ 2</p> <hr>


5. คำสั่งที่ใช้ในการจัดตัวอักษรชิดซ้าย ชิดขวา หรือกึ่งกลาง
การจัดให้ตัวอักษรให้ชิดซ้าย ขวา หรือกึ่งกลาง เราจะใช้ Attributes ให้รายละเอียดของ tag โดยเราจะใช้ aling เพื่อบอกว่าให้ชิดซ้าย (align = 'left') ชิดขวา (align = 'right') และ จัดกึ่งกลาง (align = 'center')

รูปแบบ align 


Source Code <h3 align = 'left'>ชิดซ้าย</h3> <h3 align = 'right'>ชิดขวา</h3> <h3 align = 'center'>จัดเข้ากลาง</h3>


6. คำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนสีพื้นหลัง
bgcolor เป็น Attributes อย่างหนึงเหมือนกันที่ใช้กำหนดสี คุณอาจเปลี่ยนจาก สีเขียว(green) เป็น เหลือง(yellow) หรือสีอื่นๆก็ได้

รูปแบบ bgcolor 


Source Code <body bgcolor ='green'> <h1> ดูสีพื้นหลัง </h1> </body>


7. การเขียนคำบรรยาย soure code
ในส่วนของคำบรรยาย soure code นั้นจะไม่แสดงที่ web browser เราเขียนเพื่อบรรยายว่า sorce code ส่วนนี้ใช้ทำอะไร เพื่อความสะดวกเมื่อกลับมาแก้ไข sorce code ในภายหลังเพราะเราอาจจำไม่ได้ว่าเราเขียนส่วนนี้ไว้เพื่ออะไร เพราะว่าจริงๆแล้ว soure code ที่เราใช้งานจริงนั้นจะมีมากมายหลายร้อยบรรทัด ถ้าเราไม่เขียนบรรยายไว้ก็ทำให้เสียเวลาในการหาส่วนที่เราต้องการจะแก้ไข

รูปแบบการเขียนคำบรรยาย source code


Source Code <!-- คำบรรยาย source code --!>

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใบงานเรื่อง ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับ VB

ใบงานเรื่อง ลิขสิทธิ์ เเละ สิทธิบัตร

ใบงานที่ 3